ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส มีรายการวิทยุ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรม สามารถติดตามรับฟังได้ทางคลื่น FM 99.10MHz และAM.756 KHz ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 15.00-16.00 น. โดย นางสาวมีนา การี เป็นผู้ดำเนินรายการ

วันที่ 8 ธันวาคม 2565 เวลา 15.00-16.00 น.

ข่าวประชาสัมพันธ์ 2 เรื่อง

ขั้นตอนการจองเข้าชมศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส

1.Shop package

-ค่ายครึ่งวัน/เต็มวัน

-เลือก Package ที่สนใจ

2.ตรวจสอบวันเวลาว่างได้ทางปฎิทินหน้า Website ศูนย์วิทฯ

-ช่วงเช้า 2 โรงเรียน

-ช่วงบ่าย 1 โรงเรียน

3.โทรเพื่อทำการจอง

-093-574-9213 อาอีซะฮ์ ดือราแม

  “แวนโก๊ะ แรงบันดาลใจของนักศิลปะ ผู้จุดประกายความโรแมนติกให้โลกดาราศาสตร์”

  คืนที่ดาวเต็มฟ้าค่ำคืนหนึ่ง แวนโก๊ะ ได้บรรจงภาพวาดสีน้ำมัน มุมมองจากหน้าต่างห้องนอนของเขาในโรงพยาบาลจิตเวชที่เขาพักรักษาตัวในเมืองซางต์-เรมี ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1889

     กว่าหนึ่งศตวรรษ หลังจากที่เขาได้จากไป ภาพ สีน้ำมันที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาที่ชื่อว่า Starry Night ที่ถ่ายทอดออกมาบนผ้าใบมีสีสันฉูดฉาด แปลกประหลาดแต่ทรงพลัง ฉายความพิศวงลึกลับของธรรมชาติจนดูเหนือธรรมชาติ

     Starry Night คือ ชิ้นงานจากจินตนาการหรืออาการประสาทหลอนของ แวนโก๊ะ
     จากการที่แวนโก๊ะชอบเขียนจดหมายถึงน้องชายอันเป็นที่รักของเขาบอกเล่าเรื่องราวที่เขาพบเห็น และความรู้สึกของเขา เหมือนเป็นไดอารี่ และเป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้เรา สามารถหาคำตอบได้ว่า เขาคือ คนบ้า หรือนักศิลปะดาราศาสตร์ คนหนึ่ง โดยในจดหมายระบุว่าเขาวาดภาพ “ท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว” เขียนถึงธีโอว่า “เช้านี้ฉันเห็นชนบทจากหน้าต่างเป็นเวลานานก่อนพระอาทิตย์ขึ้นโดยไม่มีอะไรเลยนอกจากดวงดาวยามเช้าซึ่งดูใหญ่มาก” ซึ่งดวงดาวยามเช้า ก็คือ ดาวศุกร์ นั่นเอง เวลาตีสี่ วันที่ 19 มิถุนายน 1889 วันที่เขาเขียนบอกธีโอว่าวาดภาพนี้เสร็จแล้ว

รามาตามหาความจริงกันว่า แท้จริงแล้ว ภาพ Starry Night ถูกวาดขึ้นจากจินตนาการหรือไม่นั้น โดยใช้โปรแกรม Stellarium ระบุพิกัด และวันเวลาที่เขาวาดภาพนี้ ทำให้เราเห็น ภาพท้องฟ้าในค่ำคืนนั้น ช่วงเวลา ตีสี เปรียบเทียบกับภาพวาดสีน้ำมันของเขา พบว่า “ท้องฟ้าบนผืนผ้าใบของแวนโก๊ะ จำลองตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้าจริงอย่างเที่ยงตรง วันนั้นกลุ่มดาวราศีเมษหรือแกะ ราศีเกิดของ แวน โก๊ะฮ์ ลอยเด่นอยู่เหนือศีรษะ ดาวที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าจริงและในภาพคือดาวศุกร์ ที่คนไทยเรียกว่า “ดาวรุ่ง” หรือ “ดาวประกายพรึก” ถ้าขึ้นตอนย่ำรุ่ง อยู่ใต้เขาซ้ายของแกะ เพิ่งโผล่พ้นเส้นขอบฟ้ามาได้ไม่นาน ตำแหน่งของดาวศุกร์ กลุ่มดาวราษีเมษ และพระจันทร์ในภาพถูกต้องทุกประการ ยกเว้นว่าดวงจันทร์ใน Starry Night อยู่ใกล้กับกลุ่มดาวและดาวศุกร์มากกว่าความเป็นจริง อัลเบิร์ต บอยม์ (Albert Boime) นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวอเมริกัน สันนิษฐานว่าข้อนี้อาจเป็นเพราะ แวน โก๊ะฮ์ อยากจัดวางองค์ประกอบของภาพให้ลงตัว เป็น “ศิลปะ” มากขึ้น ซึ่งก็น่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันกับที่ แวน โก๊ะฮ์ วาดพระจันทร์เสี้ยวแทนที่จะเป็นจันทร์ข้างแรม ดวงกลมรีเหมือนลูกรักบี้ในวันนั้น

ใส่ความเห็น