ไม่ใช่แค่มี.. ยังดีที่สุด..!! (EP1 : Intro , Digistar6)

        “สวัสดีครับ” ท่านผู้อ่านทุกท่าน .. ก่อนอื่นต้องขออนุญาตนำเสนอบทความด้วยสไตล์พ่อค้าออนไลน์ อาจใช้ภาษาพูดบ้าง เพื่ออรรถรสในการอ่านและนำเสนอน่ะครับ.. หากผิดพลาดประการใดผู้เขียนขอน้อมรับแต่เพียงผู้เดียว..  ขอบคุณครับ

       มาเริ่มกันเลย.. นอกจากความภาคภูมิใจแล้ว ยังรู้สึกตื่นเต้นสุดๆ เพราะโดยส่วนตัวแอดมินสนใจ หลงใหลเสน่ห์ของเทคโนโลยี เป็นการส่วนตัวเลยเก็บอาการไม่อยู่ ต้องนำมาระบายแบ่งปันให้คุณลูกค้าร่วมรู้สึกภาคภูมิใจและตื่นเต้นไปด้วยกัน ผ่านบทความนี้.. 

       ถ้าคุณลูกค้าเคยผ่านศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส จะเห็นมองอาคารดาราศาสตร์ เป็นสถาปัตย์สมัยใหม่ ตึกสีส้ม ๆ เวลาพนักงานส่งของโทรมา แอดมินจะบอกไปว่าตึกนกเงือกข้าง วชช. เป็นที่รู้กัน เพราะมีรูปนกเงือกตัวใหญ่อยู่ข้างอาคาร  > < .. (เป็นอีกจุดที่คุณลูกค้าชอบมา Check IN) แต่ที่แน่ๆ แอดมินมั่นใจว่าคุณลูกค้าหลายๆท่านอาจยังไม่ทราบว่า ภายในตึกส้ม ๆ มีโดมท้องฟ้าจำลองอยู่ข้างใน อะไรน่ะ.!! นราธิวาสบ้านเรา..จะมีท้องฟ้าจำลอง (Planetarium) ไม่ใช่แค่นั้นน่ะครับ ยังมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 18 เมตร (รองจากท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ ที่มีขนาด 20 เมตร) สามารถรองรับคุณลูกค้าได้ 130 ที่นั่ง ต่อรอบการจัดแสดง  อึ้ง.!! กันละซิคุณลูกค้า นอกจากขนาดที่ใหญ่แล้วยังอัดแน่นด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทั้งระบบภาพ แสง สี เสียง ระบบสังเกตุการณ์วัตถุท้องฟ้า รวมทั้งระบบเครือข่ายข้อมูลทางดาราศาสตร์ระดับสากล  เฮ้ย.!! จริงดิ  .. จริงซิครับ..  วันนี้แอดมินเลยจะมาแนะนำเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้ในระบบท้องฟ้าจำลอง ศว.นราธิวาส 

         ขอเริ่มกันที่ระบบเครื่องฉายภาพ เป็นระบบ Dual Projector ใช้เครื่องฉายสองตัวเพื่อรองรับการแสดงผลระบบ 4K Full Dome ทำงานผ่านขุมพลัง F90-4K13 ที่มีค่าความสว่าง 11,800 lumens , Contrast Ratio 10,000:1 Dynamic , ความละเอียด 3,840X2400 (4K UHD) , ระบบหลอดภาพ Laser Phosphor ..  ส่วนตัวแอดมินไม่เคยได้ชมระบบ 4K ที่มีขนาดใหญ่มาก่อน เคยแต่แอบชม TV 4K ตามบูธเครื่องใช้ไฟฟ้า (น่าสงสาร .. ชีวิตแอดมิน. T_T)  ..

        ต่อไป.. มาดูเทคโนโลยีระบบควบคุมการฉายภาพ (Software) กันต่อน่ะครับ คุณลูกค้า..  ซึ่งท้องฟ้าจำลอง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส ใช้ระบบควบคุมการฉายภาพท้องฟ้าจำลองที่มีว่า  Digistar6 

มีเครือข่ายทั่วโลก

        ระบบ Digistar6 มีขนาดใหญ่ มีความละเอียดซับซ้อน แอดมินจึงขออนุญาตแนะนำ Features บางส่วนของระบบแล้วกันน่ะครับ คุณลูกค้า .. ในส่วนซอฟต์แวร์ Digistar6 มี Features ที่ชื่อว่า “Domecasting” ทำงานร่วมกันเป็นระบบเครื่อข่าย เมื่อมีกิจกรรมบรรยาย หรือปรากฎการณ์ที่สำคัญเกี่ยวกับดาราศาสตร์ในระดับสากลแบบถ่ายทอดสดผ่านระบบเครื่องข่ายอินเตอร์เน็ต สามารถโต้ตอบกันได้อีกต่างหาก..

Digistar6 Domecasting

และยังมีระบบ Digistar6 Cloud Library ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับดาราศาสตร์จากเครื่อข่ายนักดาราศาสตร์ทั่วโลก สามารถนำเสนอให้คุณลูกค้าที่มีความสนใจได้ด้วย  

         อีกหนึ่ง Features ที่น่าสนใจสุดๆ สำหรับแอดมินน่ะครับ เพราะว่าเคยได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ ให้ศึกษาลองหาวิธีการแปลงจากหนังปรกติ (Flat Screen) มาเป็นโหมด Fish eye (โหมดที่ใช้แสดงภาพภายในท้องฟ้าจำลอง ซึ่ง ศว.นธ. เรามีโดมแบบเคลื่อนที่ได้อีกหนึ่งชุด) แอดมินแอบยิ้มในใจ นึกว่าจะง่ายๆ แต่พอเริ่มค้นคว้าหาข้อมูล มันยากกว่าที่คิดไว้เยอะในเรื่องของสัดส่วนที่จะแสดงผลแบบ Full Dome แอดมินขอยอมแพ้..  แต่เจ้า Digistar6 มันง่ายมาก.. ลากไฟล์มาวาง ฉายขึ้นโดมได้เลย..  เจ๋งอ่ะ.. !!  

ตัวอย่างการฉายภาพ Flat Screen แบบ FullDome

            จึงทำให้การใช้งานท้องฟ้าจำลองมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะเรื่องดาราศาสตร์อีกต่อไป ยังสามารถใช้บรรยายทางวิชาการต่างๆ นอกเหนือจากนี้ไม่ว่าคุณลูกค้าท่านใดที่ต้องการจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ประชุมผู้ถือหุ้น (หุหุ..) หรืองานนำเสนอต่างๆ สามารถติดต่อสอบถามกันมาได้.. (หลังจากเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแล้วสักระยะ..น่ะครับคุณลูกค้า.)  โดยท่าน ดร.สุชาติ ถาวระ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส  มีความประสงค์อยากให้ใช้งานทรัพยากรที่ได้รับจัดสรรจากกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งภาครัฐและเอกชน

          ก่อนจะจบ EP1 นี้.. เพื่อให้บทความไม่ยาวจนเกินไปแอดมินขอนำเสนอบทความแบบไตรภาคแล้วกันน่ะครับ (3 EP) .. สำหรับคุณลูกค้าที่สนใจระบบ Digistar6 ที่ F .. หรือ CF รวมทั้งที่ Inbox เข้ามาอยากบอกว่า “แอดมินเอามารีวิวให้รับชมกันเท่านั้นน่ะครับ..” ไม่มีขาย. ^ ^

ภาพกราฟิคแสดงตัวอย่าง Concept ภายในท้องฟ้าจำลอง

ใส่ความเห็น