วันนี้เราจะมาแนะนำให้รู้จักกับผลไม้ป่าชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า “มะกอกป่า”

       ก่อนอื่นเลยนะครับ มะกอก หรือ มะกอกป่า เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตั้งแต่อินเดีย มาเลเซียจนถึงอินโดนีเซีย เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง สูง 15-20 ม. ขนาดทรงพุ่ม 10- 15 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมกว้าง ค่อนข้างโปร่ง เปลือกสีเทาอมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spondias pinnata Kurz.

ชื่อวงศ์ : Anacardiaceae

ชื่อสามัญ : Hog Plum

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ : ดอนอง (มลายู นราธิวาส), กอกกุก/กูก (เชียงราย), กอกหมอง (เงี้ยว-ภาคเหนือ), ไพแซ (กะเหรี่ยง–เชียงใหม่)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

 

ต้น : เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง  ลำต้นและกิ่งก้านใบไม่มีขน ลำต้นเป็นสีน้ำตาลเปลือกเรียบสีเทาแตกเป็นร่องเล็กน้อย เปลือกข้างในมีริ้วสีชมพูสลับขาว  ความสูงของลำต้นสูงถึง 25 เมตร

 

 

 

 

ใบ :  มีใบย่อย 3 – 5คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว สีเขียว มีการเรียงตัวแบบสลับ แผ่นใบเป็นรูปไข่ ปลายใบเป็นเรียวแหลม โคนใบอาจจะเบี้ยวหรือมน ขอบใบจะเรียบ

ดอก : ดอกช่อแยกแขนง ดอกจะอยู่ตามกิ่งแต่ละดอกมีขนาดเล็ก มี 5 กลีบเกสรมีตัวเมียแยกเป็นสี่แฉก

 

ผล : ผลสดมีเนื้อฉ่ำน้ำ ลักษณะรูปไข่หรือรูปรี เมื่อสุกผลสีเหลืองหม่น มีรอยแต้มสีน้ำตาลทั่วผล ส่วนผลแห้ง จะเป็นผลแก่แล้วไม่แตก ผลเป็นเปลือกแข็งเมล็ดเดี่ยว

    

การใช้ประโยชน์ 

               อาหาร : ผลดิบ/ สุกใช้แทนมะนาวทำส้มตำ

                              ผลดิบ/ สุกใช้แทนมะนาวในอาหารจำพวกต้มยำหรือแกง

                              รับประทานเป็นผลไม้แทนผลไม้อื่นทีมีรสเปรี้ยว

                              ยอดอ่อนและใบใช้รับประทานเป็นผักรสเปรี้ยว

              ยารักษาโรค : ผล/ แก้อาการไข้หวัด ลดปริมาณน้ำจมูก, แก้เลือดออกตามไรฟัน, ต้านอนุมูลอิสระ

                                     (วิตามินซีสูง)

                                     เมล็ด/ เมล็ดเผาไฟ ก้อนใช้ชงน้ำดื่มช่วยแก้อาการหอบ, อาการสะอึกและแก้อาการร้อนใน

                                     ใบและยอดอ่อน/ แก้อาการร้อนใน, อาการท้องเสียม, แก้น้ำเหลืองช่วยสมานแผล

                                     เปลือกอ่อน/ แก้อาเจียน

                                     รากอ่อน/ แก้อาการสำแดงและกินของแสลงเป็นพิษ

ใส่ความเห็น