บทความ วิทยาศาสตร์ทั่วไป แพลงก์ตอนพืช คืออะไร? Nasula Mana 3 ปี ago สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินน้องนูรมีเรื่องราวที่จะมาแชร์ความรู้ในเรื่องแพลงก์ตอนพืช อยากรู้กันแล้วใช่ไหม ว่าแพลงก์ตอนพืชคืออะไร มีลักษณะอย่างไร เดี่ยวเรามาดูกันเลยค่ะ แพลงก์ตอนพืช(Phytoplankton)เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่ล่องลอยอยู่ในน้ำได้อย่างอิสระ และยังเป็นผู้ผลิตหลักที่สำคัญซึ่งเป็นพื้นฐานของห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำ แพลงก์ตอนพืชจะอาศัยมากบริเวณน้ำผิวดินที่มีแสงแดดส่องถึงอย่างง่ายและง่ายต่อการดูดซับก๊าซ CO2 เพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อผลิตอาหาร และได้ O2 เป็นผลพลอยได้ แพลงก์ตอนพืชสามารถพบได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำที่หลากหลาย และยังสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพของน้ำได้อีกด้วย รูปที่ 1. Spirogyra sp. เป็นแพลงก์ตอนพืช จีนัส Spirogyra sp.จะมีลักษณะเป็นเส้นสายค่อนข้างยาว ไม่แตกแขนง เซลล์รูปทรงกระบอก ผนังเซลล์มีเมือกหุ้ม มีคลอโรพลาสต์บิดเป็นเกลียวคล้ายริบบิ้นอยู่ทั่วทั้งเซลล์ จะพบในแหล่งน้ำไหลเอื่อย รูปที่ 2. Closterium sp.จะเป็นแพลงก์ตอนพืช จีนัส Closterium sp. จะมีลักษณะเป็นเซลล์เดี่ยวแต่ละเซลล์ประกอบไปด้วย 2 เซมิเซลล์ ไม่มีรอยคอด เซลล์ยาวโค้งงอปลายเรียว ยาว 2-15 เท่าของความกว้าง ผนังเซลล์ส่วนมากไม่มีสีเรียบหรืออาจจะพบลวดลายบ้าง ในแต่ละเซมิเซลล์มคลอโรพลาสต์เป็นแนวยาวตามความยาวของเซลล์ มีไพรีนอยด์หลายเม็ดเรียงเป็นแถวเดี่ยวบนแผ่นคลอโรพลาสต์ บริเวณปลายยอดมีถุงแวคิวโอลที่ภายในบรรจุผลึกแคลเซียมซัลเฟต เรียกว่า ผลึกไฮยาลีน จะพบในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำนิ่งการดำรงชีวิตของแพลงก์ตอนชนิดนี้ จะอยู่แบบล่องลอยเป็นอิสระหรือดำรงชีวิตแบบยึดเกาะและบางชนิดของแพลงก์ตอนชนิดนี้จะมีคุณภาพน้ำค่อนข้างไม่ดี ที่เล่ามาข้างต้นเป็นแค่แพลงก์ตอนพืชบางส่วนเท่านั้น จริงๆแล้วยังมีแพลงก์ตอนพืชอีกมากมาย ถ้าใครสนใจเรื่องนี้ สามารถหาเพิ่มเติมได้ที่การบูรณาการองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางน้ำในหนองหารอย่างยั่งยืน (http://www.nonghandatabase.com) หรือไม่ก็รอให้แอดมินน้องนุรมาลงความรู้เพิ่มเติมได้นะคะ จะเป็นเรื่องอะไรนั้น ต้องรอติดตามกันนะคะ สถิติผู้เข้าชม : 1,912 Share this:LineTweetPrintEmailLike this:Like Loading... Continue Reading Previous Plant Tissue CultureNext ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ More Stories ข่าวกิจกรรมศูนย์ฯ บทความ วิจัยการพัฒนาแหล่งเรียนรู้บ่อล่อปลาของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาสในการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย Nasula Mana 2 เดือน ago ดาราศาสตร์ บทความ นิทรรศการดาราศาสตร์ Nasula Mana 2 ปี ago ดาราศาสตร์ บทความ ปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ Nasula Mana 2 ปี ago ใส่ความเห็นCancel reply