ไลเคน ผู้บุกเบิกพื้นที่ และตัวชี้วัดคุณภาพอากาศ

   สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินดามีเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับไลเคนมาเล่าให้ฟังค่ะ งั้นเรามาฟังกันเลยค่ะ

   อากาศที่ดีทำให้สุขภาพจิตแจ่มใส เราจึงมักจะพาตัวเราไปอยู่ในที่ที่มีบรรยากาศสดชื่น นอกจากเราจะรู้สึกสัมผัสอากาศดีผ่านจมูกแล้ว เพื่อนๆ ทราบไหมคะว่ามีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่สามารถเป็นตัวชี้วัดคุณภาพอากาศได้

  งั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Lichen กันน่ะค่ะ

   Lichen เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากการอาศัยรวมกันระหว่างรา และสาหร่าย ในรูปแบบของ Sybiosis โดยทั้งสองต่างเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน

  • รา จะทำหน้าที่ เก็บความชื้นและป้องกันอันตราย
  • สาหร่าย จัดเป็นกลุ่มสาหร่ายสีเขียว และสาหร่ายสีเขียวแกรมน้ำเงิน ซึ่งจะมีรงควัตถุที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ จึงจะทำหน้าที่สร้างอาหาร และแบ่งปันให้เชื้อรา

 

โครงสร้างของ Lichen มี 3 ชั้น ประกอบไปด้วย

1.ชั้นอัพเปอร์คอร์เทกซ์ (upper cortex)

2.ชั้นเมดูลา (medulla)

3.ชั้นโลเวอร์คอร์เทกซ์ (lower cortex)

ภาพตัดตามขวางของไลเคน ที่มา http://www.uoguelph.ca/~gbarron/MISC2006/lichen.htm

                                                                       ภาพตัดตามขวางของไลเคน

                                                                                         ที่มา http://www.uoguelph.ca/~gbarron/MISC2006/lichen.htm 

ชนิดของ Lichen  มี 4 ชนิด ประกอบไปด้วย

   1.ครัสโตส (crustose) ลักษณะเป็นแผ่นแข็งติดอยู่บนต้นไม้

 

   2.สแควมูโลส (squamulose) ลักษณะเป็นเม็ดคล้ายลูกหิน ติดแน่นอยู่กับต้นไม้

   3.โฟลิโอส (foliose) ลักษณะคล้ายใบไม้ ไม่ติดแน่น

   4.ฟรูทิโคส (fruticose) ลักษณะเป็นเส้นหรือแตกกิ่งก้านคล้ายต้นไม้

ไลเคนผู้บุกเบิกพื้นที่

       การเกิดแทนที่จะเริ่มขึ้นในพื้นที่ที่ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่มาก่อน Lichen  จะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกที่มาอาศัยในพื้นที่ ซึ่งอาจมาเกาะบนก้อนหิน ต่อมา ก้อนหินจะสึกกร่อนเนื่องจากโดนความชื้นจากสิ่งมีชีวิตบนก้อนหินนั้น การสึกกร่อนทำให้เกิดอนุภาคเล็กๆ ของหินและสาหร่าย รวมไปถึงสารอินทรีย์ของซากสิ่งมีชีวิตสะสมเพิ่มขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปสิ่งมีชีวิตในกลุ่มพืชจำพวกมอสจึงเจริญเติบโตตามมา

ไลเคนตัวชี้วัดคุณภาพทางอากาศ

     ไลเคนสามารถใช้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพทางอากาศ เนื่องจากไลเคนเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความไวต่อมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO.) ก๊าซฟลูออไรด์ (Fluorides) และ สารเคมีที่มีฤทธิ์เป็นสารออกซิไดซ์สูง เช่น โอโซน ทั้งนี้ไลเคนแต่ละชนิดมีความทนทานต่อมลพิษทางอากาศไม่เท่ากัน ซึ่งเราสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพอากาศได้ดีในเบื้องต้น หากบริเวณสถานที่ที่เราอาศัย เช่น ต้นไม้ แผ่นหิน แผ่นไม้ เป็นต้น มีไลเคนเกิดขึ้นสบายใจได้เลย บริเวณนั้นอากาศดี สูบลมหายใจได้อย่างไม่กังวลเลยค่ะ

ใส่ความเห็น