ศึกษาพรรณไม้ยากไหม ?
สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินมีนามีเรื่องราวเกี่ยวกับการศึกษาพรรณไม้มาแชร์ให้ทุกคนที่สนใจในเรื่องนี้กันค่ะ จริง ๆ แล้วมีนได้มีโอกาสศึกษาพรรณไม้ที่บริเวณอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยงเมื่อปี พ.ศ. 2561 (ก็แอบนานอยู่นะคะ) จึงทำให้มีนได้รู้ว่าจริงๆแล้วการศึกษาพรรณไม้ไม่ได้ยากอย่างที่คิดค่ะ งั้นเรามาเริ่มด้วยวิธีการศึกษาแรกกันเลยดีกว่า ขั้นตอนแรกมีนได้ศึกษาเกี่ยวกับแผนที่ของอุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาวก่อน จากนั้นก็ทำแผนที่ขึ้นมา ดังรูปนี้ค่ะ
สิ่งสำคัญของการทำแผนที่ คือเราสามารถระบุพิกัดของพรรณไม้ที่เราจะศึกษา และสะดวกต่อการศึกษาตัวอย่างนั่นเองค่ะ ต่อมาขั้นตอนที่สองก็คือ เก็บตัวอย่างพรรณไม้ การเก็บก็ไม่ได้ยากเลยค่ะ เพราะเราแค่ตัดชิ้นส่วนของพรรณไม้ เพื่อที่เราจะนำไปศึกษาต่อนั่นเอง มีนมีรูปที่ได้เก็บตัวอย่างมาให้ดูด้วย ตามภาพด้านล่างนี้เลยค่ะ
การเก็บตัวอย่างพรรณไม้นั้น จะมีส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ “ดอกไม้” เพราะดอกไม้จะทำให้เราระบุได้ชัดเจนว่าเป็นพรรณไม้ชนิดไหนบ้าง ในส่วนของการเก็บตัวอย่างให้อยู่นาน และคงสภาพเดิมไว้ เราสามารถเก็บและรักษาตัวอย่างพันธุ์ไม้ได้ด้วยวิธีการอัดแห้ง โดยการอัดพันธุ์ไม้แล้วอบหรือผึ่งให้แห้ง แล้วนำไปติดบนกระดาษสำหรับติดตัวอย่างพันธุ์ไม้ อยากบอกว่าวิธีนี้ เป็นที่นิยมกันมากค่ะ
ต่อมาขั้นตอนสุดท้าย คือขั้นตอนบันทึกข้อมูล เราจะต้องบันทึกอะไรบ้าง การบันทึกข้อมูลเป็นการบันทึกเพื่อให้เราสามารถระบุได้ว่าพรรณไม้นั้นชื่ออะไร เดียวเรามาดูตัวอย่างที่มีนได้เก็บข้อมูลพรรณไม้จากสถานที่อุทยานแห่งชาติอ่าวมะนาว-เขาตันหยง
เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กับวิธีการศึกษาพรรณไม้ มันไม่ได้ยากอย่างที่คิดใช่ไหมค่ะ สำหรับวันนี้แอดมินมีนา ขอตัวลาไปก่อน ไว้รอบหน้ามาเจอกันใหม่ ส่วนมีนจะมาแชร์เรื่องอะไรนั้น ต้องติดตามกันต่อนะคะ
โดยทุกคนสามารถติดตามทางศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาส ไม่ว่าจะเป็นทางเว็บไซต์ และเพจ https://www.facebook.com/Narascience