อาหารแปรรูป สร้างมูลค่าได้จริงหรือ ?

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินหมีมีเรื่องราวดีๆมาให้พวกเราได้รับชมกันค่ะ

   หมีอยากเล่าประสบการณ์ที่ประทับใจอยู่หนึ่งเรื่อง คือ ได้ไปทัศนศึกษาดูงานในรายวิชาชีววิทยากับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและพืชสมุนไพร โดยเริ่มเดินทางออกจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ไปยังบริษัทเซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด (บริษัทปลาณีต) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา  และได้มีการเยี่ยมชมการดำเนินการของบริษัทแห่งนี้

สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ?

วันนี้หมีมีคำตอบ …

   บริษัทปลาณีตเป็นแบรนด์อาหารทะแลแปรรูป สะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างแบรนด์ ที่บ่งบอกถึงความละเมียดละไมในการผลิตอาหารทะเลแปรรูปทุกขั้นตอน

   นายสุเทพ ไชยธานี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซาท์เทอร์น ซีฟูด โปรดักส์ จำกัด หรือ Southern Seafood Products (SSP) ผู้อยู่เบื้องหลังแบรนด์ “ปลาณีต” ได้เล่าว่า มีการทำตลาดแบบเน้นราคาเป็นหลัก เลยคิดหาช่องทางตลาดใหม่ด้วยการสร้างมูลค่า ต้องสร้างการรับรู้ว่าเราคือใคร เลยสร้างแบรนด์ปลาณีตขึ้นมาในปี 2558” และได้ไปเจาะตลาด คือ ตลาดญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง จีน

สร้างมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นจาก “หัวปลา ก้างปลา”

   จริงๆแล้วเขาได้เอาแค่เนื้อปลามาทำเป็นแบรนด์ แต่ทีนี้ได้เห็นว่ามีของเหลือใช้อย่างพวกหัวปลาก้างปลา เป็นจำนวนมาก จึงแก้ปัญหาโดยการนำหัวปลาก้างปลามาแปรรูปเป็นปุ๋ย-น้ำหมัก เพราะว่าในหัวปลา ก้างปลา มีกรดอะมิโน แล้วยังมีฮอร์โมน IAA ซึ่งเป็นอาหารเสริมชั้นดีให้กับพืช สามารถสร้างมูลค่าได้ 2 ล้านบาทต่อ 100 ลิตร ขณะที่การขายหัวปลา ก้างปลา อย่างเดียวจะได้เพียง 350,000 บาท นั่นเองค่ะ

และอีกอย่างที่หมีชอบมากในบริษัทแห่งนี้  “เขารับแรงงาน 100% จากชุมชน”

  พนักงานต้องอยู่รอบชุมชน เหตุผลที่ทำอย่างนั้นเพราะเรากำลังหาวิธีว่าทำอย่างไรให้พนักงานอยู่กับเรานานๆ ก็ควรจะอยู่แบบครอบครัว เวลาทำงานต้องสอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยอาศัยการบริหารแบบครอบครัว ได้มีการสร้างอาชีพให้ชาวบ้านในชุมชนถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยหล่อเลี้ยงชุมชน และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ

  ที่ได้บอกไปข้างต้นว่าสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร ? เขาได้นำปัญหาที่เกิดขึ้นเหล่านี้มาแก้ไข โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และได้นำความรู้เหล่านี้มาใช้ในชีวิตจริงด้วยค่ะ

ใส่ความเห็น