มาเก็บตัวอย่างน้ำแพลงก์ตอนพืชกัน!!!

          สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินน้องนูรมีเรื่องราวที่จะมาแชร์ให้กับผู้ที่สนใจ ในเรื่องการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อศึกษาแพลงก์ตอนพืชค่ะ อยากรู้กันแล้วใช่ไหม ว่าการเก็บตัวอย่างน้ำเป็นอย่างไร เดี่ยวเรามาดูกันเลยค่ะ

        ขั้นตอนแรกเราจะศึกษาพื้นที่และกำหนดจุดเก็บตัวอย่างก่อน

          ขั้นตอนที่สองจะทำการเก็บน้ำจากแหล่งน้ำ 2 ครั้งๆละ 1 ลิตร ใส่ภาชนะบรรจุขนาด 1 ลิตรพอดี วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำโดยตักน้ำลึกลงไปจากผิวน้ำประมาณ 10 เซนติเมตร จากนั้นนำมากรองผ่านถุงแพลงก์ตอนพืช ขนาด 20 ไมโครเมตร แล้วเก็บตัวอย่างในขวดเก็บน้ำขนาด 650 มิลลิลิตร สำหรับช่วงเวลาของการเก็บตัวอย่างน้ำคือ 08.00-12.00 น. (ช่วงเช้า)

          ขั้นตอนที่สาม นำตัวอย่างไปเก็บรักษาในถังเก็บน้ำแข็งเพื่อเป็นการลดอัตราเร็วของการเกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและเคมี

          ขั้นตอนที่สี่ การศึกษาแพลงก์ตอนพืชในน้ำตัวอย่าง ซึ่งเป็นการศึกษาภายใต้กล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ โดยนำน้ำตัวอย่างมาส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ

          และขั้นตอนสุดท้าย ขั้นตอนที่สี่ คือ นำตัวอย่างที่พบไปวินิจฉัยชนิดของแพลงก์ตอนพืชจากหนังสือและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ยุวดี พีรพรพิศาล(2556) และ Application plankton key. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอนพืชที่จะใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นเพื่อบ่งบอกสถานภาพของแหล่งน้ำได้

          เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำในการศึกษาแพลงก์ตอนพืช ถ้าใครเข้ามาอ่านแล้ว อย่าลืมให้กำลังใจแอดมินน้องนูรด้วยการกดแชร์ และกดติดตามเพจศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษานราธิวาสให้แอดมินน้องนูรด้วยนะคะ แล้วเจอกันใหม่ในโอกาสหน้า บ๊ายๆ

ใส่ความเห็น